ประวัติโรงเรียน

" โรงเรียนผู้นำด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน มุ่งจัดการศึกษาพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล บนพื้นฐานความเป็นไทยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง "

ประวัติโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย ๑๒๑ ปี แห่งความภาคภูมิใจ

          การจัดการศึกษาในสมัยโราณมีศูนย์กลางการตึกษาที่สำคัญอยู่สองแห่งคือ วังและวัด ขุนนางหรือผู้มีตระกูลมักส่งบุตรหลานไปถวายตัว หรือเข้าไปศึกษาอบรมตามวังหรือราชสำนัก ส่วนสามัญชนจะนำบุตรหลานที่เป็นชายไปฝากตัวกับพระตามวัดเป็นลูกศิษย์หรือบวชเรียน พระจะเป็นผู้สอนให้หัดเขียนอ่านวิชาหนังสือ วิชาพระพุทธศาสนา เช่น ภาษาบาลีสันสกฤต ขอม ตลอดจนฝึกอบรมให้รู้จักขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ด้วย

          ครั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ พระองค์ได้ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษา จึงได้ตั้งโรงเรียนขึ้น สำหรับสอนบุตรหลานของข้าราชบริพาร นอกจากนี้พระองค์มีพระราชดำริให้วัดเปิดสอนหนังสือให้กับเยาวชนด้วย

          เมื่อวันที่ ๑ กรฎาคม รศ.๑๑๕ (พ.ศ.๒๔๓๙) พระสมุห์กล่อมเจ้าอาวาสวัดสามจีนใต้ (ต่อมาได้พระราชทานสัญญาบัตรมีสมณดักดิ์เป็นพระครูวิริยนุกิจจารี ได้เห็นว่าเด็กวัดและเด็กในบริเวณใกล้เคียงยังไม่ได้เรียนหนังสืออีกมากจึงรวบรวมเด็กเหล่านี้จำนวน ๓๙ คน ให้มาเรียนหนังสือ โดยใช้หอฉันเป็นที่เรียนให้พระพร้อมและพระสอนเป็นอาจารย์ และบอกรายงานมาลงทะเบียนในกรมศึกษาธิการ พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ อธิบดีกรมศึกษาธิการ จึงมีรับสั่งให้กองตรวจตามรายงานนั้น และทรงอนุญาตให้พระสมุห์กล่อมเป็นผู้อุปการะให้พระพร้อมและพระสอนเป็นอาจารย์ และให้นับเป็นโรงเรียน สามัญเชลยศักดิ์ขึ้นในกรมศึกษาธิการ จึงถือได้ว่าเป็นการสถาปนาโรงเรียนวัดสามจีนตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา

          ต่อมาปี ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๓) นักเรียนโรงเรียนวัดสามจีนสอบได้ประโยคหนึ่ง ชั้น ๓ ได้คะแนนเป็นที่ ๑ ของกรุงเทพฯ ได้รับพระราชทานรางวัลของกรมสมเด็จพระศรีสุดาตราชประยูร ทำความปลื้มใจให้เจ้าอาวาส และพระอาจารย์ที่สอนยิ่งนัก นักเรียนท่านนั้นคือท่านศาสตราจารย์พระวรเวทย์พิสิฐ (ต้นตระกูลศิวะศริยานนท์)

          นอกจากนั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าพระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ นาฬิกาตั้งยอดพระเกี้ยวประทับตราพระราชลัญจกร จ.ปร. และตู้พระราชทานของสมเด็จพระบรมราชเทวีซึ่งนับเป็นเกียรติประวัติและสวัสดิมงคลแก่สถาบันเป็นอย่างยิ่ง

             พ.ศ.๒๘๔๔ นางจุ้ย บ้านถนนสุนทรพิมล ได้มีจิตรศรัทธาสร้างโรงเรียนถวายวัดเป็นอาคารไม้ ๒ ชั้นมีที่เรียนโดยสมบูรณ์จึงตั้งชื่อว่า “โรงเรียนประถมวัดสามจีน” ครูเสือเป็นครูใหญ่คนแรก

          พ.ศ. ๒๔๕๑ นางสาวละออ หลิมเซ่งไถ่ ได้สร้างอาคารเรียนเป็นตึก ๒ ชั้น เรียกว่า ตึกท่านเอี่ยมเปิดสอนชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาและกระทรวงธรรมการให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียน มัธยมวัดสามจีน เมื่อ พ.ศ.๒๙๖๙

พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๔ นายสนิท เทวินทรภักดิ์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ได้นำเรื่อง การปรับปรุงโรงเรียนมัธยมวัดสามจีนเสนอกรมศึกษาธิการ กรมฯ เห็นชอบที่จะปรับปรุง จึงมอบให้นาวาโทหลวงศุภชลาศัย อธิบดีกรมพลศึกษา เป็นประธานวางแผนปรับปรุงวัดและโรงเรียน โดยสร้างอาคารเรียน ๓ ชั้น ๒ หลัง เรียงอยู่ในแนวเดียวกัน และขยายชั้นเรียนจนถึงมัธยมปีที่ ๖ พร้อมทั้งยุบชั้นประถมลงมีสนามบาสเกตบอลแบบมาตรฐานซึ่งกรมพลศึกษาได้ใช้เป็น ที่แข่งขันสำหรับโรงเรียนอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้ยังสร้างตึกวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น

           วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๒ กระทรวงธรรมการได้ประกาศเปลี่ยนชื่อโรงเรียนมัธยมวัดสามจีนเป็นโรงเรียนไตรมิตรวิทยลัย ตามชื่อวัดที่เปลี่ยนเป็นวัดไตรมิตรวิทยาราม

            ทั้งนี้เพื่อที่จะเฉลิมเกียรติคุณของท่านผู้แรกสร้างให้ยั่งยืน วัฒนายิ่งขึ้น และเป็นการเชิดชู อุตสาหะวิริยะของท่านผู้สร้าง คณะกรรมการปรับปรุงวัด

            ปัจจุบันท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก คณะกรรมการมหาเถรสมาคมเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เป็นองค์ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย